ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่จะบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าหากวิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสมแก่กล้วยไม้ที่ปลูก กล้วยไม้ก้จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นที่ต้องศึกษาถึงความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิดแต่ละสกุล เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิดแต่ละสกุลจะมีความต้องการเครื่องปลูกที่แตกต่างกัน วิธีการปลูกกล้วยไม้จะแบ่งตามเครื่องปลูกดังต่อไปนี้
- ปลูกด้วยออสมันด้า การปลูกโดยใช้ออสมันด้าลงกระถาง โดยทั่วไปใช้ปลูกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ เช่น สกุลแคทลียาและสกุลหวาย ฯ ภาชนะที่ปลูกไม่จำเป็นต้องใหญ่หรือว่าเล็กเกินไป ขนาดของภาชนะปลูกควรจะสัมพันธ์กับขนาดของต้นกล้วยไม้ สำหรับหวายและแคทลียานั้นเป็นลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ความสูงของต้นกับความกว้างของกระถางเกือบจะพอ ๆ กัน เช่นต้นสูง 1 นิ้ว ก็ควรจะปลูกลงกระถางขนาดปากกว้าง 1 นิ้วด้วย และขนาดของกระถาง 1 นิ้วจะปล่อยให้ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตจนกระทั่งสูง 2 นิ้วหรือสูงกว่านั้น แต่ถ้าต้นกล้วยไม้สูง 5-6 นิ้ว ขนาดที่เหมาะสมคงจะเป็นเพียงขนาดกระถาง 3 นิ้วเท่านั้น การใช้ขนาดกระถางใหญ่เกินไปทำให้ความชื้นในกระถางสูงเกินความต้องการของกล้วยไม้และรากจะได้อากาศน้อยลง เป็นเหตุให้กล้วยไม้โตช้ากว่าปกติ
- ปลูกด้วยอิฐกับถ่าน จะเป็นวิธีการปลูกที่ประหยัดและหาได้ง่าย และยังเหมาะแก่การปลูกกล้วยไม้ชนิดต้นใหญ่ เช่น หวายลูกผสมเซอราโทเบี้ยมและแวนด้าใบร่อง เพราะจำเป็นจะต้องปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ซึ่งจะสิ้นเปลืองเครื่องปลูกมากและจะต้องวางตั้งแทนการแขวน การปลูกด้วยอิฐกับถ่านช่วยทำให้กระถางหนักเมื่อถูกลมพายุพัดแรงจะไม้ล้มง่าย สำหรับหวายและแคทลียาก่อนปลูกจำเป็นต้องมีหลักปักไว้ชั่วคราวเพื่อใช้ยึดลำให้แน่นอยู่กับที่หลังจากปลูกใหม่ ๆ เพราะรากยังไม่เกาะกระถาง หากถูกลมพัดอาจจะทำให้ต้นล้มถอนออกจากกระถางได้ หลักที่ใช้ควรใช้ไม้ไผ่หลาวกลมคะเนดูหขนาดให้แข็งแรงพอสมควร ควรมีไม้ขวางขัดปากกระถางเสียก่อนแล้วจึงเอาหลักตั้งลงในกระถาง ใช้เชือกผูกหลักให้ติดกับไม้ขวางนั้นให้โคนหลักยันกับก้นกระถางพอดี ไม้ขวางจะช่วยยันขอบกระถางและยึดหลักให้แน่นอยู่กับที่ สำหรับอิฐกับถ่านี่จะใส่ลงในกระถางนั้น ครึ่งล่างของกระถางควรใช้กระถางแตกชิ้นใหญ่ ๆ วางเรียงตามตั้งสลับกับถ่านเล็กน้อย เพื่อให้ก้นกระถางโปร่งระบายน้ำได้สะดวก ส่วนครึ่งบนใช้อิฐผสมกับถ่านก้อนเล็กลงไป ชั้นบนสุดใช้ก้อนขนาดไม่เกิน 1 ซม. ถ้าจะใช้ออสมันต้าสับโรยที่ผิวบนด้วยก็จะช่วยให้เครื่องปลูกมีคุณสมบัติเก็บความชื้นได้ดีขึ้น หรือจะใช้ถ่านก้อนเล็กล้วน ๆ โรยคลุมผิวหน้าให้หนาประมาณ 1 ซม. จะช่วยให้รากไม่เสียง่ายและป้องกันโรคโคนเน่าได้ดี เพราะถ่านมีคุณสมบัติช่วยดูดแก๊สและของเสียได้ดีแต่ต้องร่อนเอาถ่านที่เป็นฝุ่นผงออกให้หมด และเมื่อโรยถ่านแล้วผิวบนของเครื่องปลูกต้องไม่สูงจนกลบตาที่โคนลำเพราะอาจจะทำให้ตาหรือหน่อที่เกิดใหม่เน่าได้ง่าย เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ใช้มือตบกระถางหลาย ๆ ครั้ง เครื่องปลูกจะยุบตัวแน่นอีกเล็กน้อย ถ้าหากผิวของเครื่องปลูกยุบต่ำลงไปมากก็ให้เติมเครื่องปลูกลงไปจนกระทั่งพอดีกับโคนลำ
- ปลูกด้วยกาบมะพร้าว การปลูกด้วยกระถางดินเผาที่อัดกาบมะพร้ว ก่อนปลูกต้องนำกระถางมาอัดกาบมะพร้าว ครึ่งล่างของกระถางจะเป็นอิฐและถ่านครึ่งบนจะเป็นกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่นแล้วกดลงไปให้กาบมะพร้าวชนกับอิฐรองล่างพอดี แล้ใช้มีดคม ๆ ปาดกาบมะพร้าวให้เรียบเสมอกับขอบกระถาง แล้วนำกระถางที่อัดเสร็จแล้วนี้ไปแช่น้ำให้กาบมะพร้าวอิ่มตัวอีก 2 วันจึงนำไปปลูกหวายได้ เมื่อเริ่มปลูกให้ใช้เหล็กปลายแหลมแบน ๆ หรือ ปลายไขควงแคะโดยรอบเพื่อเอากาบมะพร้าวขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้กาบมะพร้าวแยกจากกัน เพราะจะทำให้เสียรูปกระถางและอัดคืนลงไปอีกไม่ได้ ใช้เทคนิคโดยการเอามือกำรอบกาบมะพร้าวไว้ในขณะที่กาบมะพร้าวรอยที่ใกล้เส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด แยกรอยนั้นออกแล้วเอาโคนหวายสอดลงไปให้รากลงไปในรอยทั้งหมด แต่ให้โคนลำนิ่งอยู่บนผิวกาบมะพร้าวพอดี จัดรากให้กระจายระวังอย่าให้หัก แล้วจึงหนีบกาบมะพร้าวให้รากหวายแน่นเข้าสู่รูปเดิม กดกาบมะพร้าวลงในกระถางตามเดิม ให้ผิวบนของกาบมะพร้าวต่ำกว่าขอบกระถางเล็กน้อย ถ้าผิวหน้าของกาบมะพร้าวอยู่เสมอกับขอบกระถาง เวลารดน้ำ น้ำจะไหลล้นขอบกระถางไปมากกว่าที่จะซึมผ่านกาบมะพร้าวลงไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น